วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้นำทรงพลังทางการศึกษา : ตอนที่ 2 วิวัฒนาการทางความคิดและทฤษฎีภาวะผู้นำ

                             นับเป็นเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน ที่มนุษย์เห็นความสำคัญของผู้นำ และได้เริ่มทำการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 จนปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4  ยุค ดังนี้
                                ยุคแรก กลุ่มทฤษฎีลักษณะของผู้นำ
ยุคที่ 2 กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ
ยุคที่ 3 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์
ยุคที่ 4 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำบูรณาการ
                                แนวคิดเหล่านี้ มีความเชื่อแตกต่างกันออกไป และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นที่ยอมรับ ในขณะที่ปัจจุบันแนวคิดเหล่านี้ได้รับการทบทวนและมีการสร้างแนวคิดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เห็นวิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำได้ชัดเจนและต่อเนื่อง  
                                ยุคแรก  กลุ่มทฤษฏีลักษณะผู้นำ (ค.ศ. 1950-1960)
                                 ทฤษฎีลักษณะผู้นำ (Leadership Traits) เริ่มขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อนักจิตวิทยาในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาหาวิธีคัดเลือกนายทหาร การศึกษาดังกล่าวได้จุดประกายให้เกิดความกระตือรือร้น สนใจในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ภายหลังสงคราม นักวิจัยจึงได้เริ่มศึกษาเพื่อระบุลักษณะที่สำคัญ ๆ ของบุคคลซึ่งใช้แยกระหว่างบุคคลที่มีความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (Effective Leaders) ออกจากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้นำ  
                                 ยุคที่ 2 กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นำ (ค.ศ. 1960-1970)
                นักวิชาการที่เห็นด้วยกับในแนวคิดนี้ มีความเชื่อว่า ความสำเร็จของผู้นำในการปฏิบัติงานมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่เขาทำมากกว่า กล่าวคือ เชื่อว่า ความสำเร็จของผู้นำ มาจากสิ่งที่เขาทำมากกว่าลักษณะที่เขาเป็น และเชื่อว่า ลักษณะเด่นเป็นสิ่งที่ติดตัวมา เปลี่ยนแปลงได้ยากในทางตรงกันข้ามเป็นไปได้ง่ายกว่าที่เราจะเรียนรู้พฤติกรรมที่ทำให้ผู้นำเหล่านั้นประสบความสำเร็จ  งานวิจัยในระยะที่ 2 จึงมุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมผู้นำ คำถามสำคัญในกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมดี ๆ สำหรับผู้นำนั้นมีอะไรบ้าง
                นักวิจัยที่ทำการศึกษา พฤติกรรมความสำเร็จของผู้นำ ปรากฏอย่างเด่นชัด 4 กลุ่ม คือ มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) มหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไอโอ (Ohio State University) รวมทั้งกลุ่มนักวิจัยอิสระ อาทิ Robert Tannembaum กับ Waren H. Schmidt และ Robert Blake กับ Srygley Mouton เป็นต้น
               ยุคที่ 3 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (คศ. 1980-1990)ยุคที่ 4 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำบูรณาการ
                ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์มีแนวความคิดว่าผู้นำจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีระบบจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งเพื่อความเหมาะสมทั้งสถานที่และเวลา  ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ และทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำที่อธิบายว่าลักษณะของผู้นำมีรูปแบบที่คงที่ตายตัว  ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์  ทำให้เชื่อว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำจำเป็นต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น  ภาวะผู้นำในกลุ่มนี้ ได้แก่
                                1) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพของ Fiedler (Fiedler’ Contingency Theory of Leadership Effectiveness)
                                2) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ของ  Hersey – Blanchard
                                3) ทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย ( Path Goal Theory ) ของ Robert House
                                4) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ ของ Vroom –Yetton – Jago
                                5) ทฤษฎีผู้นำ 3 มิติของ Reddin  เป็นต้น
               
              ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1970-1979  ได้มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ โดยได้มีการศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำแบบบูรณาการ โดยได้นำเอาทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ และทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้รูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสงสุด ทั้งนี้ ทฤษฎีภาวะผู้นำตามกระบวนทัศน์นี้ มีดังนี้
1) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบารมี (Charismatic Leadership)
2) ทฤษฎีภาวะผู้นำแปลงสแปลงสภาพ (Transformational Leadership)
3) ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership)
4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น