วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้นำทรงพลังทางการศึกษา : ตอนที่ 5 แบบแผนพฤติกรรมของผู้นำทรงพลัง

ผู้นำทรงพลังจะแสดงพฤติกรรมออกมาใน 4 รูปแบบ ดังนี้ Boyatzis, McKee (2002) และ Aung Tun Thet (2004)
                                1) แบบให้วิสัยทัศน์ (Visionary) ผู้นำที่ให้วิสัยทัศน์จะชี้จุดหมายที่องค์การจะเดินไป แต่ไม่บอกว่าจะไปถึงจุดหมายนั้นได้ โดยวิธีใด โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้คิดริเริ่ม ทดลอง และรับการเสี่ยงที่ควบคุมได้ ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจแก่คนอื่น (Inspirational  Leadership) คือ ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ผู้นำประเภทนี้ต้องมีคือความสามารถใน
การส่งเสริมผู้อื่น
(Developing Others)รู้จักอารมณ์ของตนเอง (Emotional Awareness) และความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
                                2) แบบครูฝึก (Coaching) เป็นศิลปะของการเป็นผู้นำแบบตัวต่อตัว ผู้นำแบบครูฝึกจะทำให้คนอื่นค้นพบจุดอ่อนและจุดแข็งของตน และเชื่อมโยงจุดอ่อนและจุดแข็งเหล่านั้นกับความใฝ่ฝันทั้งด้านส่วนตัวและอาชีพ ทักษะทางเชาว์อารมณ์ที่ผู้นำประเภทนี้ต้องมีคือความสามารถในการส่งเสริมผู้อื่น (Developing Others) รู้จักอารมณ์ของตนเอง (Emotional Awareness) และความเห็นอกเห็นใจ(Empathy)
                                3) แบบส่งเสริมความร่วมมือ (Affiliative) ผู้นำประเภทนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ทักษะทางฉลาดทางอารมณ์ว่าด้วยการร่วมมือ (Collaboration) ในทางปฏิบัติสิ่งที่ผู้นำประเภทนี้ให้ความสำคัญที่สุดคือการส่งเสริมความสมานฉันท์ และการมีความสัมพันธ์อย่างเป็นมิตร เขาจะเน้นเอาใจใส่ความต้องการด้านอารมณ์ของบุคลากรด้วยการใช้ทักษะความเห็นอกเห็นใจ
                                4) แบบประชาธิปไตย (Democratic) ผู้นำแบบประชาธิปไตยใช้ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ 3 ประการ คือ การทำงานเป็นทีมและการร่วมมือ (Teamwork and Collaboration)
การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) และการสร้างอิทธิพลเหนือคนอื่น (Influence) ผู้นำประเภทนี้เป็นนักฟังที่ยอดเยี่ยมและเป็นนักให้ความร่วมมือตัวจริง เขารู้วิธีบรรเทาความขัดแย้งและสร้างความ สมานฉันท์ ทักษะอีกประการที่เขาใช้ คือความเห็นอกเห็นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น