วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้นำทรงพลังทางการศึกษา : ตอนที่ 3 ภาวะผู้นำกับพลัง

ดังได้กล่าวแล้วว่า ภาวะผู้นำ คือ พลังของผู้นำที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนของกลุ่มคน และองค์การไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้ ภาวะผู้นำจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพลัง สอดคล้องกับ Shackleton (1995) ซึ่งกล่าวไว้ว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวถึงภาวะผู้นำ โดยไม่พูดถึงพลังของมันเลย (Impossible to Talk of Leadership Without also Discussing of the Power)
                อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตเกี่ยวกับพลังว่า พลังเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในสังคม มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการยอมรับนับถือ การยกย่องชมเชย ต้องการความมั่นคง การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันมาก  ๆ ทำให้เกิดพลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่Russell (1998) กล่าวว่า ในบรรดาความปรารถนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์นั้น ความต้องการที่สำคัญคือความต้องการพลัง การรวมตัวกันของสมาชิกในสังคมหนึ่ง   ๆ จะเกิดผู้นำ ผู้ตาม เช่น การรวมตัวกันของสมาชิกเพื่อทำ ผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับที่สูงขึ้น พลังจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ กับผู้ตามที่มีอิทธิพลโน้มน้าวจูงใจให้สมาชิกสามารถปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2525) กล่าวว่า ไม่มีใครสามารถให้คำ ตอบว่า พลังอยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไร พลังเปรียบเทียบได้กับพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่สามารถผลักดันให้บุคคลหน่วยงานหรือองค์การให้ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ เนื่องจากความไม่ทัดเทียมกันใน การจัดสรรพลัง จึงทำให้เกิดบุคคลสองพวก คือ ผู้นำ และผู้ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของทั้งคู่ไม่ว่าจะพิจารณาจากความแตกต่างในรูปแบบใดก็ตาม ถ้าบุคคลสองพวกนี้ จำ เป็นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแล้วผู้นำ มักจะเป็นผู้ออกคำสั่ง ในขณะที่ผู้ตามมักจะเป็น ผู้เชื่อฟังและปฏิบัติตามเช่นกัน
จึงเห็นได้ว่า พลังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากสำหรับองค์การ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ อรุณ รักธรรม (2527) ที่ว่า สิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดต่อการดำรงอยู่ขององค์การมิใช่ระบบสื่อสารที่ดีเลิศ หรือหลักมนุษย์สัมพันธ์หรือ การเข้าร่วมในกิจกรรมของสมาชิก แต่คือ พลัง (Power) ดังนั้น พลังจึงเปรียบเสมือนตัวยึดเหนี่ยวโครงสร้าง และกิจกรรมขององค์การเข้าไว้ด้วยกัน เป็นตัวหลักในการผลักดันให้กลไกต่าง ๆ ภายในองค์การ ทำงานไปตามปกติในทิศทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ และความเจริญก้าวหน้าขององค์การ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบอีกด้วย ขณะเดียวกันหน้าที่ ความรับผิดชอบ ก็เป็นแนวทางที่ทำ ให้บุคคลสามารถจะได้พลังอย่างไรก็ตาม การมีพลังในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น ควรจะอยู่ในระดับที่พอเหมาะกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลนั้น มิฉะนั้นอาจทำ ให้เกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น ในกรณีผู้บริหารมีพลังน้อยเกินไป จะทำ ให้เกิดความอ่อนแอ ความสับสนและล่าช้าขึ้นในองค์การ และในกรณีที่ผู้บริหารมีพลังมากเกินไป อาจทำให้เกิดการก้าวก่ายในหน้าที่การงาน มีพฤติกรรมที่ขัดกับการยอมรับอันเป็นการผิดประเพณี ผิดกฎ ผิดระเบียบ หรือกฎหมาย และเป็นตัวการของความขัดแย้งได้
พลัง หมายถึง  ความสามารถหรือวิธีของของบุคคล หรือกลุ่มคนในการจูงใจให้บุคคลอื่นแสดงความสามารถหรือศักยภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์การ
                 อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าความหมายของพลังยังคงเป็นประเด็นที่ให้ผู้รู้ได้อภิปราย ถกเถียงกันอีกมาก ทั้งนี้เพราะ ความหมายของพลังขึ้นอยู่กับบริบทของงานที่ศึกษา
 แหล่งที่มาของพลัง หมายถึง วิธีที่บุคคล หรือกลุ่มคนเข้ามาควบคุมฐานพลัง หรืออาจจะหมายความได้ว่า แหล่งที่มาของพลังและวิธีการที่จะได้มาซึ่งพลัง (Robbins, 1983)
                แนวคิดเกี่ยวกับพลัง มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณโดย พลาโต และโซเครตีส พยายามที่ศึกษาว่า ทำไมผู้นำจึงแสวงหาพลัง ซึ่งทำให้ได้รับคำตอบว่า ผู้นำต่างแสวงหาพลังเพื่อนำพลังนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม(ทินพันธ์ นาคะตะ, 2525)
Machiavelli(1950) ได้ศึกษาถึงแหล่งที่มาของพลัง และได้สรุปแหล่งที่มาของพลังไว้ดังนี้
                แหล่งที่มาของพลังตามแนวคิดของ Machiavelli
                                1) พลังตามกฎหมาย (Legal Power)เป็นพลังที่อยู่บนพื้นฐานของกฏหมาย ไม่ผูกพันกับตัวบุคคลหรือตำแหน่ง กล่าวคือ สามารถขยายไปสู่บุคคลและตำแหน่งเฉพาะตามที่กฏหมายระบุ ภายในขอบเขตหน้าที่ในหน่วยงานเท่านั้น
                                 2) พลังตามประเพณี (Traditional Power) เป็นพลังที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของสถานภาพบุคคล ซึ่งได้ใช้พลังนั้นมาในอดีต เป็นพลังอำนาจที่เป็นมรดกตกทอดมาจากประเพณี ค่านิยมจากอดีต
                                 3) พลังบารมี (Charismatic Power) เป็นพลังที่ได้รับจากการยกย่องบูชา หรือ ความนับถือในตัวบุคคลเป็นพิเศษ  จากคุณลักษณะที่ดีที่มีในตัวบุคคลนั้น  ๆ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ หรือการยอมรับเฉพาะตัวบุคคล เช่น บุคลิกภาพ พฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ
                Lasswell and Kapla (1969) ได้สรุปปัจจัยที่เสริมพลังให้กับผู้นำ  ซึ่งเรียกว่า พลังนิยม 8 ประการดังนี้
     1) พลังทางทางการเมือง
     2) พลังการยอมรับนับถือ
     3) พลังความซื่อตรง
     4) พลังความรัก
     5) พลังความสมบูรณ์พูนสุข
     6) พลังความร่ำรวย
     7) พลังทักษะ
     8) พลังความรอบรู้
ในสังคมไทย ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งที่มีของพลังเช่นกัน ดังนี้
อรุณ รักธรรม(2523)ได้รวบรวมแหล่งของพลังในบริบทของสังคมไทยไว้ ดังนี้
                                 1) หน้าที่ปฏิบัติ  หน้าที่ที่ปฏิบัติย่อมแสดงถึง การมีพลังเหนือบุคคลอื่น หน้าที่ที่ปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมให้บุคคลนั้นมีพลังด้วย
                                 2) จำนวนสมาชิกที่ทำงานด้วย พลังนั้นย่อมมีส่วนสัมพันธ์กับจำนวนสมาชิกหรือที่เรียกว่า บริวาร มากน้อยที่ทำงานอยู่ด้วย
                                3) บุคคลที่คบค้าสมาคมด้วย การคบค้าสมาคม หรือการคบเพื่อนที่ มีพลัง ทำให้คนคนนั้นย่อมมีพลังชนิดนั้นไปด้วย  
                        4) บุคลิกลักษณะ บุคลิกลักษะของแต่ละบุคคล มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
ผู้ที่จะเป็นนักปกครอง นักบริหาร หัวหน้าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือผู้ที่หวังจะก้าวหน้าในหน้าที่ตำแหน่งการงาน ผู้ที่บุคลิกภาพดีย่อมเป็นผู้ได้เปรียบหรือได้แต้มต่อ ในระยะแรกจะเป็นผู้ที่น่านับถือ น่าเคารพ น่าเลื่อมใสต่อบุคคลที่พบเห็น โดยไม่ต้องพูดจาแต่ประการใด
                        5) มนุษยสัมพันธ์  มนุษย์ต่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กัน เป็นปัจจัยแรกที่ติดต่อกัน เป็นเรื่องของคนต่อคน มนุษย์สัมพันธ์กันนับเป็น พลังภายใน เป็นสิทธิอำนาจ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัวของบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด หรือทำหน้าที่เป็นประชาชนธรรมดาหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การชนะจิตใจคน ได้ต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งในแง่มุมของมนุษยสัมพันธ์แล้ว มนุษยสัมพันธ์ที่ดีเปรียบเสมือนพลังนั่นเอง
6) ของที่ใช้ บางครั้ง พลังได้มาจากของที่ใช้ ตำแหน่ง เงินเดือน รวมทั้งรวมทั้ง
บ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ใดใช้ของดีกว่า แพงกว่า ย่อมมีพลังเหนือกว่า
                        7) ทรัพยากร ซึ่งหมายความรวมถึงวัสดุต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน คนที่มีทรัพย์มาก มีที่ดินหลายร้อยไร่ รถยนต์หลายคัน ย่อมมีบริวาร และนำมาซึ่งพลังที่มีมากกว่าผู้อื่น
                        8) ประเพณีนิยม เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่อยู่ใต้พลังยอมรับนับถือในลักษณะของตัวบุคคล ซึ่งได้พลังอำนาจนั้นมาตามระเบียบประเพณีมากกว่าการยอมรับนับถือเพราะกฎเกณฑ์ นอกนั้นยังเคารพนับถือในระบบอาวุโส  คนไทยถูกสอนให้เคารพ เชื่อฟังและยำแกรงผู้อาวุโสเสมอมา เช่นลูกเชื่อฟังพ่อแม่ น้องเชื่อฟังพี่ สิ่งเหล่านี้เป็นพลังที่ได้รับหรือที่มีตามประเพณีนิยม
3) ฐานของพลัง ฐานของพลังแตกต่างจากแหล่งที่มาของพลัง Robins (1983)ให้ความหมายของฐานพลังว่า ฐานพลังหมายถึง การนำพลังไปใช้
Etzioni (1967) จำแนกฐานของพลังในองค์การออกเป็น 3 ประเภทคือ
1) พลังการมีอำนาจบังคับ (Coercive Power) เป็นพลังที่ผู้บริหารใช้ เพื่อให้สมาชิก
ขององค์การปฏิบัติตามวิถีที่กำหนดไว้
                                2) พลังจากสินนํ้าใจ (Renumerative Power) เป็นพลังที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรอันก่อประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น การให้ค่าตอบแทน ค่าจ้าง
                3) พลังจากความสัมพันธ์ทั่วไป (Normative  Power) เป็นพลังจที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องบุคคล เช่น ความต้องการ ความสำเร็จ ความเป็นเพื่อน และค่านิยมของกลุ่มหรือการใช้ความสามารถในการกระตุ้นให้บุคคลอื่นคล้อยตาม และปฏิบัติตามที่ต้องการ
 Robbins (1983) ได้แบ่งแยกฐานพลังออกเป็น 4 ฐาน คือ
                1) พลังบังคับ (Coercive Power) โดยผู้บริหารที่มีพลังนี้ สามารถลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่ละเลย หรือไม่ปฏิบัติตามได้
                 2) พลังการให้รางวัล (Reward  Power) เกิดจากความสามารถของผู้บริหารในการให้รางวัล เช่น ค่าจ้าง หรือสิ่งตอบแทนอื่น   ๆ ที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติตามได้
                3) พลังการชักชวน (Persuasive Power) เกิดจากการที่ผู้บริหารสามารถว่าจ้าง จัดทำ สื่อสาร หรือมีอิทธิพล ต่อบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดการปฏิบัติตามได้
 4) พลังการมีความรู้ (Knowledge  Power) เป็นความรอบรู้และเชี่ยวชาญของ
ผู้บริหาร ที่ทำให้ได้รับการยอมรับ ปฏิบัติตามจากผู้ใต้บังคับบัญชา
Fren chand Raven (1957) ซึ่งได้เสนอว่า ฐานของพลัง ประกอบด้วย 5 ด้าน เป็นเครื่องมือวัดศักยภาพ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นอย่างได้ผล คือ
                 1) พลังการให้รางวัล (Reward Power) เกิดจากความสามารถของผู้บริหารที่จะให้รางวัลตอบแทนบุคคลอื่น สำหรับความสำเร็จของงาน และเชื่อว่า การยอมปฏิบัติตาม จะนำไปสู่การให้รางวัล ด้วยวิธีการขึ้นเงินเดือน ค่าจ้าง การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือการยกย่องสรรเสริญ
                 2) พลังการบังคับ (Coercive Power) หรือพลังอำนาจการให้คุณให้โทษเกิดจากความกลัวผู้บริหารที่มีพลังอำนาจสูง หรือที่สามารถให้คุณให้โทษสูงทำให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายอมปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย เช่น การว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ หรือไล่ออก
                 3) พลังตามกฎหมาย (Legitimate Power) หรือพลังชอบธรรม  เกิดจากตำแหน่งที่ผู้บริหารครองอยู่ตามปกติ ถ้ามีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าใด พลังตามกฎหมายก็มากขึ้นเท่านั้น ผู้บริหารที่มีพลังตามกฎหมายสามารถมีอิทธิพลต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้พึงปฏิบัติ เพื่อมิให้เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย
                  4) พลังอ้างอิง (Referent Power) เกิดจากคุณลักษณะพิเศษของผู้บริหารเป็นพลังที่ทำ ให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เอาแบบอย่างพฤติกรรมผู้บริหารที่มีพลังอ้างอิงสูงจะเป็นที่รักใคร่นับถือของบุคคลอื่น อันเนื่องมาจาก บุคลิกลักษณะ การชอบพอ การนับถือยกย่อง ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
                                5) พลังความเชี่ยวชาญ (Expert Power) เกิดจากผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญมีทักษะและความรู้ จะได้รับการยอมรับนับถือ สิ่งเหล่านี้ทำ ให้มีอิทธิพลต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
             จึงเห็นได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การ ผู้นำในองค์การไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร แต่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำ และต้องเป็นภาวะผู้นำที่มีพลังเพียงพอที่จะให้พลัง (Empower) และเสริมพลัง (Empowerment) ให้กับผู้ตามอย่างเหมาะสม  การทรงพลังของผู้บริหารจึงมีความสำคัญและจำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น